สรุปบทที่ 5 อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



บทที่ 5 

อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ความหมายของอินเทอร์เน็ต
                อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน เรียกว่า internet (กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน)
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
                ปี พ.ศ.2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (National Science Foundation : NSF) ให้เงินทุนสร้างศูนย์ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง ใช้ชื่อว่า NSFnet ในปี พ.ศ.2533 อาร์พาเน็ตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นโครงข่ายหลักได้ จึงเปลี่ยนใช้ NSFnet และเครือข่ายอื่น ๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนปัจจุบัน เรียกว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                องค์การที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐาน และดูแลการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตร่วมกัน คือ หน่วยงาน World Wide Web Consortium : W3C
                เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทู (Internet2 : I2) เป็นเครือข่ายที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และการเรียนการสอน
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
                ปี พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย AIT ได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาวิทยาเมลเบิร์น ซึ่งการเชื่อมโยงขณะนั้นใช้สายโทรศัพท์ ซึ่งการส่งข้อมูลล่าช้า และไม่เป็นทางการ ต่อมาปี พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเชื่อมดยงกับเครือข่าย ยูยูเน็ต ตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต (THAINET)
                ในปีเดียวกัน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN) ต่อมาให้ติดต่อกับเครือข่ายของยูยูเน็ต
                ต่อมาในปี พ.ศ.2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตในรูปแบบบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกกว่า ไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP)
การแทนชื่อที่อยู่ของอินเตอร์เน็ต (Internet Address)
                เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องมีหมายเลขประจำตัว เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ประกอบด้วยชุดของตัวเลข 4 ชุด ขนาด 8 บิต เท่ากันทุกชุดรวมกันเป็นหมายเลขไอพีขนาด 32 บิต เรียกว่า ไอพีวี 4 หรือ IP version4เช่น 203.150.224.131 
                ปัจจุบันระบบไอพีระบบใหม่ที่เรียกว่ามาตรฐานไอพี วี 6 (IP version 6) มีขนาด 128 บิต  การกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนหมายเลขไอพี 203.150.224.131 ด้วย http://www.kapook.com ชื่อโดเมนมีโครงสร้างแบ่งระดับเป็นทรี
                ในระบบชื่อโอเมน หน่วยงาน Internet Corporation for Assigned Names and Numbers : ICANN อ่านว่า eye-can เป็นผู้กำหนดมาตรฐานโครงสร้างชื่อโดเมน ระบุประเภทขององค์การ หรือชื่อประเทศของเครือข่าย แบ่งได้ 2ประเภทคือ
                1.  ชื่อโดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain : TLD) เป็นชื่อย่อของประเภทองค์กรในสหรัฐอเมริกา
ชื่อโดเมนแทนประเภทองค์การ
ชื่อโดเมน                                             ประเภทองค์การ
com (Commercial Organization          องค์การธุรกิจการค้า
edu (Educational Institution)               สถาบันการศึกษา
org (Non-Commercial Organization)   องค์การที่ไม่หวังผลกำไร
gov (Government Organization)          องค์การของรัฐ
net (Network Provider)                        องค์การที่ให้บริการเครือข่าย
                2.  ชื่อโดเมนระดับบนสุดที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ca แคนาดา , jp ญี่ปุ่น , uk อังกฤษ , au ออสเตรเลีย , my มาเลเซีย
                สำหรับชื่อโดเมนระดับบนสุดของประเทศไทย คือ th และมีโดเมนย่อยแทนประเภทขององค์การอยู่ ประเภท คือ
                                 ac          สถาบันการศึกษา
                                – co          ธุรกิจการค้า
                                – go          องค์การของรัฐ
                                – or           องค์การที่ไม่หวังผลกำไร            
              – mi          หน่วยงานทางทหาร
             – net          องค์การที่ให้บริการเครือข่าย
 การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
                การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต 2 วิธีหลักการ คือ
                1.  การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง (Direct Internet Access) ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อโครงข่ายหลัก (แบ็กโบน : Backbone) โดยมีอุปกรณ์ เกตเวย์ (Gateway) ในการเชื่อมต่อ ได้แก่ เราเตอร์ (Router) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง เป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา เสียค่าใช้จ่ายติดตั้งค่อนข้างสูง แต่การรับส่งข้อมูลสามารถทำได้โดยตรง รวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือ
                2.  การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dial-up Access) จะใช้สายโทรศัพท์ตามบ้าน ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณ โมเด็ม (MODEM) การเชื่อมต่อแบบนี้ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง
 เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)
                ในปี ค.ศ.1991 Tim Berners-Lee นักเขียนโปรแกรมทำงานในสถาบัน CERN ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้อินเทอร์เน็ตใช้งานง่ายขึ้น ให้ผู้ใช้สร้างเอกสารบนอินเทอร์เน็ต เรียกว่า เว็บเพจ (Web Pages) สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้ การเชื่อมโยงนี้เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlinks) เชื่อมโยงที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เดียวกัน หรือต่างกันที่อยู่คนละประเทศได้อย่างรวดเร็ว กลุ่มเอกสารที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์ เรียกว่า World Wide Web : WWW หรือ W3 ตำแหน่งของอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วยเอกสารที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์ เรียกว่า เว็บไซต์ (Websites)
                เว็บเพจ (Web Pages) คือ เอกสารที่เป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ซึ่งมีมีเดียเป็นสื่อประสมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล
                การสร้างเว็บเพจสามารถใช้ภาษา HyperText Markup Language : HTML ประกอบด้วยชุดของคำสั่งที่เรียกว่า แท็ก (Tags) หรือมาร์กอัป (Markups)
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser)
                เรียกว่า เบราเซอร์ คือโปรแกรมที่ใช้แสดงข้อมูลของเว็บเพจ เป็นโปรแกรมที่สั่งโดยใช้ข้อความ (Text Commands) แสดงผลในรูปแบบของข้อความ (Text) เท่านั้น ในปี ค.ศ.1993 Marc Ardreessen สร้างโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ในรูปแบบของกราฟิก เรียกว่า Mosaic การติดต่อกับผู้ใช้อยู่ในลักษณะของ GUI (Graphical User Interface) การใช้งานและแสดงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสะดวก ง่าย
  โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่นิยมใช้ปัจจุบัน ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Internet Explorer (IE) และโปรแกรม Netscape Navigator
                ข้อมูลที่แสดงบนโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ คล้ายหน้าเอกสาร เรียกว่า เว็บเพจ (Web Page) หน้าเอกสารหน้าแรกของเว็บเพจ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page)
                การเข้าไปยังเว็บเพจของเว็บไซต์ใด ๆ ผู้ใช้จะต้องระบุที่อยู่ (Web Address) หรือ Uniform Resource Location : URL เพื่อชี้ไปยังตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
 ริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต
  1.  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เรียกกันว่า อีเมล์ (E-mail) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในการรับส่งจดหมายหรือข้อความ จะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (E-mail Address) เพื่อใช้เป็นกล่องจดหมาย ที่อยู่ของอีเมลจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ ส่วน คือ ผู้ใช้ และชื่อโดเมน ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @ (อ่านว่า แอ็ท)
  2. การสนทนาออนไลน์ (Online Chat) เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตให้ผู้ใช้คุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (Real-Time) การสนทนา Chat (Internet Relay Chat : IRC) การสนทนาใช้ภาพกราฟฟิก ภาพการ์ตูน หรือภาพเคลื่อนไหวต่างๆ แทนตัวผู้สนทนา ตัวอย่างโปรแกรมสนทนาออนไลน์ เช่น ICQ (I Seek You) และ Microsoft MSN Messenger เป็นต้น
  3. เทลเน็ต (Telnet) เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล จะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ให้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (Text Mode)
  4. การขนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol) การขนถ่ายไฟล์ เรียกว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์ เรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอรื (FTP Server หรือ FTP Site) ข้อมูลที่ให้บริการมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ ข่าวสาร  โปรแกรมฟรีแวร์ ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมได้ฟรี ผู้ใช้บริการจะเรียกว่าดาวน์โหลด การขนถ่ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เรียกว่าการอัปโหลด
 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
                อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูล สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นหาแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องมือค้นหา ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของข้อความและกราฟฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ช่วยสืบค้น ได้แก่ google.co.th , yahoo.com , lycos.com , excite.com เป็นต้น
 เทคนิคในการค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
  1. วางแผนการหาข้อมูลที่ต้องการ
  2. ใช้เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์แบบสารบบสำหรับการค้นหาหัวข้อ
  3. ถ้าเครื่องมือค้นหาแบบเดียวให้ผลไม่สมบูรณ์ใช้เครื่องมือค้นหาอื่น ๆ ด้วย
  4. ระบุคำนามเพื่อการค้นหาให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด
  5. ให้แก้ไขคำหลัก ด้วยเครื่องหมาย + รวม และ – ไม่รวม
  6. การค้นหาวลี โดยการใส่เครื่องหมาย "….."  จะให้ผลการค้นหาดีกว่าด้วยการใส่คำ และควรใส่เครื่องหมาย "…" ควบคู่กับ หรือ 
  7. ใช้เครื่องหมาย * ช่วยในการค้นหา เช่น retriev*
  8. พิมพ์คำค้นเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์เล็ก
  9. ให้ใส่เรื่องหลักไว้ในส่วนต้นของการค้นหา
  10. ให้ป้อนคำค้นหาข้อมูลส่วนที่สนใจได้คำตอบเพียงไม่กี่ข้อ ให้ใช้คำถามเดียวกันค้นหา
 เว็บเพจศูนย์รวม (Portal Web Page)
                เป็นศูนย์รวมเว็บไซต์ที่รวมการให้บริการต่าง ๆ ทางอินเตอร์เน็ต เช่น เครื่องมือค้นหา ฟรีอีเมล์ ห้องสนทนา เป็นต้น
 อินทราเน็ต (Intranets) และเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranets)
                การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ขององค์การสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  1. อินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในองค์การคล้ายกับอินเทอร์เน็ต จะใช้เบราเซอร์เว็บไซต์ และเน้นการให้บริการข้อมูลและสารสนเทศแก่พนักงานในองค์การ
  2. เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอก เพื่อการติดต่อระหว่างผู้ผลิต และลูกค้าในการธุรกรรม และการดูรายการสินค้าเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
                เป็นการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อที่สามารถซื้อสินค้าได้จากที่บ้านหรือที่ทำงานได้ตลอดเวลา สามารถคัดเลือก เปรียบเทียบราคาสินค้าได้ทุกมุมโลก แค่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ/หรือบัตรเครดิตก็ซื้อสินค้าที่ต้องการได้
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                เรียกกันว่า การค้าอิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบ การซื้อขายสินค้า บริการ การชำระเงิน การโฆษณา และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                ธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ มีความเร็ว ในการนำเสนอสินค้า การให้บริการ การใช้ต้นทุนต่ำ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ และเป็นทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน
 ประเภทของธุรกิจ
                จำแนกประเภทของธุรกิจได้จากรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้ ประเภท ดังนี้
  1. ธุรกิจแบบบริคและมอร์ต้า เป็นธุรกิจแบบดั้งเดิมมีสถานที่จำหน่าย ไม่มีการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
  2. ธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า เป็นธุรกิจแบบบริคและมอร์ต้ารวมทั้งร้านค้าออนไลน์ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจปกติ เป็นธุรกิจมีเพียงเว็บไซต์ที่นำเสนอสินค้า และระบุสถานที่จัดจำหน่าย และมีธุรกิจจำนวนมากเพื่อการซื้อขายสินค้าออนไลน์
  3. ธุรกิจแบบคลิกและคลิก เป็นธุรกิจที่ไม่มีสถานที่ร้านค้าเพื่อจำหน่ายสินค้า ผู้ซื้อไม่สามารถที่จะเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าได้ มีเฉพาะบนเว็บเท่านั้น เช่น amazon.com , misslily.com เป็นต้น
 หมวดหมู่ของสินค้าและการให้บริการ สามารถแบ่งประเภทของธุรกิจได้ดังนี้
  • ·        ธุรกิจการสื่อสาร เป็นธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต
  • ·        ธุรกิจการโฆษณา เป็นการใช้เว็บเพจบนอินเทอร์เน็ต สื่อประชาสัมพัน์สินค้าและบริการ
  • ·        ธุรกิจการซื้อและการจัดส่งสินค้า เป็นการจำหน่ายสินค้าในลักษณะข้อมูลที่เป็นดิจิทัลและไม่ดิจิทัล สามารถส่งผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยให้ผู้ซื้อดาวน์โหลด
  • ·        ธุรกิจการศึกษาทางไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาได้จากทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องไปยังสถานศึกษา
  • ·        ธุรกิจฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นการให้บริการด้านข้อมูลและสารสนเทศผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต
  • ·        ธุรกิจการประมูลสินค้า เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อกำหนดและแข่งขันราคาสินค้าด้วยตนเอง
  • ·        ธุรกิจศูนย์กลางการค้าอิเล็กทรอนิกส์ การซื้อขายสินค้าให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • ·        ธุรกิจด้านการเงิน การให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อและทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงิน เช่น บัตรเครดิต
  • ·        ธุรกิจให้บริการด้านการท่องเที่ยว ให้ข้อมูลและทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่นการจองตั๋วเครื่องบิน
  • ·        ธุรกิจซื้อขายหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ข้อคิดเห็นและคำแนะนำด้านการลงทุน
 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  1. ธุรกิจกับธุรกิจ B2B เป็นการทำธุรกิจด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้าเป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน
  2. ธุรกิจกับลูกค้า B2C เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคน รูปแบบการชำระเงินส่วนใหญ่จะผ่านระบบบัตรเครดิต
  3. ธุรกิจกับภาครัฐ B2G เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ
  4. ธุรกิจกับลูกค้า C2C เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน แลกเปลี่ยน ซื้อ ขายสินค้าผ่านเว็บไซต์
  5. ภาครัฐกับประชาชน G2C กิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า เน้นให้บริการกับประชาชนผ่านสื่อ เป็นนโยบายของรัฐบาล
 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  1. หน้าร้าน (Storefront) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับแสดงข้อมูลสินค้าทั้งหมดของร้านค้า การค้นหาข้อมูล หน้าร้านต้องมีการออกแบบที่ดีเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
  2. ระบบตระกร้ารับคำสั่งซื้อ (Shopping Cart System) เป็นระบบต่อเนื่องจากหน้าร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้า ให้คลิกที่ สั่งซื้อ หรือสัญลักษณ์รูปตระกร้า จะปรากฏรายการสินค้าที่ลูกค้าต้องการพร้อมคำนวณค่าใช้จ่าย
  3. ระบบการชำระเงิน (Payment System) ผู้ขายต้องมีทางเลือกให้ลูกค้าหลายทางเพื่อความสะดวกของลูกค้า เช่น การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร การชำระด้วยบัตรเครดิต การส่งผ่านธนานัติ เป็นต้น
  4. ระบบสมัครสมาชิก (Member System) เป็นการบันทึกข้อมูลที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสาร รวมถึงการสั่งซื้อสินค้า
  5. ระบบขนส่ง (Transportation System) เป็นระบบการจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า มีทางเลือกหลายทางให้ลูกค้า ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ค่าใช้จ่ายแต่ละวิธีจะไม่เท่ากัน  เช่น EMS , DHL , FedEx , UPS เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการคำนวณค่าใช้จ่าย
  6. ระบบติดตามคำสั่งซื้อ (Order Tracking system) ระบบติดตามคำสั่งซื้อเมื่อเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้งลูกค้าจะได้รับหมายเลขคำสั่งซื้อ เพื่อใช้หมายเลขดังกล่าวตรวจสอบสถานะของสินค้าได้ จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือ มั่นใจว่าได้รับสินค้าแน่นอน
  กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  1. การค้นหาข้อมูล   ค้นหาข้อมูลสินค้าที่ต้องการ แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบการสั่งซื้อ
  2. การสั่งซื้อสินค้า เมื่อเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว นำรายการสินค้าเข้าสู่ระบบตระกร้า และมีการคำนวณค่าใช้จ่าย สามารถเลือกรายการสินค้า และปริมาณที่สั่งได้
  3. การชำระเงิน ขึ้นอยู่กับความสะดวกว่าต้องการชำระวิธีไหน
  4. การส่งมอบสินค้า เลือกวิธีการขนส่งสินค้า
  5. การให้บริการหลังการขาย ร้านค้าต้องมีบริการหลังการขายให้กับลูกค้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุป บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดบทที่ 9